สรพ. ฉลองครบรอบ 15 ปี ลั่นพร้อมรับมือ Cyclone of changes ในอนาคต

   เมื่อ : 25 มิ.ย. 2567

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. จัดงานวันครบรอบสถาปนา  ”15 ปี สรพ.ยกระดับระบบบริการสาธารณสุขไทย เพื่อความปลอดภัยให้ทุกคน” โดยมีผู้บริหารชุดปัจจุบัน อดีตผู้บริหาร ตัวแทนสภาวิชาชีพ คณะผู้เยี่ยมสำรวจ ตลอดจนผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแสดงความยินดี 

พล.ร.ท.นพ.นิกร เพชรวีระกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่า สรพ.ก่อตั้งมาได้ 15 ปี เปรียบเหมือนวันหนุ่มสาวที่กำลังมีศักยภาพสูง ตนได้เฝ้าติดตามการเติบโตของ สรพ. มาโดยตลอด ตั้งแต่งานวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จนมาเป็น สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) 

ที่มีการเติบโตอย่างมั่นคงและเป็นที่น่าภูมิใจของประเทศไทยที่มีองค์กรมาตรฐานระดับโลกในการประเมินผลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตนหวังว่าปีต่อๆ ไปจะเกิดสิ่งใหม่ๆ และประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามปรารถนา

ด้าน ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตประธานคณะกรรมการ สรพ. กล่าวว่า หากย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่ยุคของ Hippocratis ชีวกโกมารภัจ สุศรุตะ ไภศัชยคุรุ หรือ หมอฮัวโต๋ จะเห็นว่าคนที่เข้ามาอยู่ในระบบบริการสุขภาพ สิ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติและยึดถือคือเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยเสมอ เพียงแต่ในยุค 3000 กว่าปีก่อน การแพทย์ยังตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อและประสบการณ์ 

จนกระทั่งเมื่อ 400 ปีก่อน วิทยาศาสตร์เกิดขึ้น มีการค้นหาความจริงด้วยหลักวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ทำให้การแพทย์เปลี่ยนมาเป็น Science-Based จนเมื่อ 60 ปีก่อน ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ทำให้การแพทย์กลายมาเป็น Evidence-Based และในอีก 30 ปีต่อมา ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า Tacit knowledge  และการแพทย์ก็เข้าสู่ยุค Competency-Based และเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยก็พัฒนามาเรื่อยๆ ตามลำดับ

ในส่วนของประเทศไทย เริ่มจากโครงการวิจัยกลไกส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของ สวรส. มีการประชุมของผู้อำนวยการโรงพยาบาล 30 แห่งที่ตกลงจะขับเคลื่อนเรื่องงานคุณภาพ ผ่านไป 2 ปี ก็เกิดเป็น พรพ. ระหว่างปี 2542-2552 จนเมื่อเนื้องานมากขึ้นเรื่อยๆ จึงก่อตั้งขึ้นเป็นเป็น สรพ. ในปี 2552 ถึงปัจจุบัน ขับเคลื่อนทั้งเรื่องการศึกษา/ฝึกอบรม และการประเมินรับรอง 

เกิด National Forum ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมูฟเม้นต์ของระบบ และการรับรอง HA ก็กลายเป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อถือแก่ผู้รับบริการ เกิดมาตรฐานการรับรองด้านต่างๆที่หลากหลาย เช่น มาตรฐานขั้นก้าวหน้า มาตรฐานเฉพาะด้าน มาตรฐานเครือข่ายระดับอำเภอ มาตรฐานระบบปฐมภูมิ เพื่อรองรับความหลากหลายของสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลประเภทใดก็สามารถมีคุณภาพได้

ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ประธานกรรมการสถาบัน กล่าวว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ตนเป็นกรรมการ สรพ.มา 4 สมัย ได้เห็นการเติบโตของระบบการรับรองคุณภาพของประเทศไทย ได้เห็นคุณค่าของการทำเรื่องการทำงานด้านคุณภาพและความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ มีตัวอย่างของผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์ เช่น  ศ.นพ.ประเวศ วะสี ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ฯลฯ มาเป็น Influencer 

มีคนที่รับแนวคิดไปขับเคลื่อนปฏิบัติ เช่น นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และอื่นๆ อีกหลายท่าน เกิดการขับเคลื่อนโดยอาศัย Awareness มากกว่าการใช้อำนาจบังคับ จนเริ่มเห็นผลและเกิดโมเมนตัม ที่จะขับเคลื่อนไปอย่างยั่งยืน ต่อมา สรพ. เริ่มขอรับการรับรองจาก ISQUA และได้บทเรียนคือ สรพ. เริ่มเข้าใจแนวคิดในการกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ไม่ใช่ยกมาทั้งหมด และแนวคิดนี้ก็เป็นรากฐานของการกำหนดมาตรฐานฉบับต่างๆ ในระยะต่อมา เกิดการเรียนรู้การอบรมผู้เยี่ยมสำรวจ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า สรพ.มีการพัฒนาตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ และเข้าใจถึงแนวคิดในการริเริ่มแนวทางใหม่ๆ ”ในเรื่องของ Patient Safety ประเทศไทยพูดเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2559 และประกาศเรื่อง 3P Safety ในปี 2566 สิ่งที่อยากจะบอกคือเมื่อเราเข้าใจในแนวคิดของระบบคุณภาพ ทำให้เรากล้าคิดจะทำอะไรใหม่ๆ ขณะที่ประเทศอื่นยังไม่ได้ทำ แต่เราริเริ่มเป็นผู้นำโดยไม่ต้องรอให้ WHO ประกาศก่อน นี่เป็นจุดที่สำคัญของพัฒนาการในระบบคุณภาพ

โดยเฉพาะในด้านการแพทย์ เรื่องสงคราม และเรื่องสังคมสูงอายุ ปัจจัยเหล่านี้กระทบกับระบบริการสุขภาพทั้งสิ้น คำถามคือ สรพ.จะต้องเตรียมตัวอย่างไร แม้ปัจจุบันระบบคุณภาพของประเทศไทยเดินมาได้ไกลแล้ว แต่เชื่อเถอะว่ายังมีอีกไกลที่ต้องเดินต่อไป และไม่แน่ใจว่าจะเจออะไรข้างหน้าบ้างจาก Cyclone of changes ที่ว่านี้ แต่ไม่ว่าอย่างไร คนไทย สังคมไทย ต้องเตรียมพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ 

 

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการ สรพ. กล่าวว่า สรพ. ขับเคลื่อนมาได้ทุกวันนี้เพราะมีผู้ใหญ่สนับสนุน นำทางให้ สรพ. เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยวิชาการและความรู้ โดยมีสถานะเป็นองค์การมหาชนมาได้ 15 ปี แต่ถ้านับจริงๆ มีการขับเคลื่อนภายใต้ร่มของโครงการวิจัยมานานกว่า 20 ปีแล้ว 

ซึ่งจากการวิจัยพบว่าระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยจำเป็นที่ต้องมีองค์กรที่เป็นกลางขับเคลื่อนเชิงระบบที่ไม่ได้อาศัยอำนาจการปกครอง ไม่ได้อาศัยเงิน ไม่ได้อาศัยกฎกติกาเชิงตัวชี้วัด แต่อาศัยการสร้างพลังใจ สร้างความตระหนักให้เกิดการคุณภาพจากเนื้องานประจำค่อยๆบ่มเพาะก่อร่าง จนปัจจุบันนี้การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพได้กลายเป็นกลไกหนึ่งของสถานพยาบาลที่ช่วยยกระดับระบบบริการสาธารณสุขไทย เพื่อความปลอดภัยให้ทุกค