สยามพารากอน สร้างปรากฏการณ์ศิลปะ Interactive Digital Art ระดับโลก
“มิเกล เชอวาลิเยร์” (Miguel Chevalier) ศิลปินดิจิทัลอาร์ตระดับโลก ผู้บุกเบิกและคลุกคลีกับงานดิจิทัลอาร์ตมากว่า 40 ปี ได้ สร้างสรรค์ CO-CREATION สุดยอดประสบการณ์ Art Tech บนพื้นที่ชั้น 4 SCBX NEXT TECH ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งปัจจุบันได้ถูกออกแบบให้เป็นเทคคอมมูนิตี้แห่งโลกอนาคต คึกคักไปด้วยนักศึกษา คนรุ่นใหม่ และคนทำงานในแวดวงดิจิทัลอาร์ตกว่า 200 ชีวิต
โดย คุณอมัจจ์ สมบูรณ์เจริญ นักยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมธุรกิจ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “SCBX NEXT TECH” ถือว่าเป็นเทคคอมมูนิตี้แห่งโลกอนาคต จึงได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกมากมาย เพื่อให้เป็น Co – Creation Community แหล่งแห่งการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของทั้งนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ ตลอดจนผู้สนใจได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาตนเอง จนกลายเป็น “Smarter Better Richer”
นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายให้เป็นหนึ่งในเดสติเนชั่นของผู้คนที่สนใจในงานด้านเทค ทุกแขนงจากทั่วโลกได้มาเยือนในที่แห่งนี้ ล่าสุด “ดิจิทัลอาร์ต” ถือว่าเป็นหนึ่งในแขนงเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ ได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลก
ในฐานะที่สยามพารากอนเป็น Global Luxury Destination ผู้นำแห่งการนำเสนอไลฟ์สไตล์ทันสมัย สร้างสรรค์ประสบการณ์แปลกใหม่ จึงได้เชิญ มร.มิเกล เชอวาลิเยร์ ศิลปินดิจิทัลอาร์ตระดับโลก ร่วมสร้างสรรค์สุดยอด Interactive Digital Art เป็นครั้งแรก
สำหรับผลงานของ มร.มิเกล ที่มาสร้างสรรค์บนกำแพงจอ LED ครั้งนี้ เป็น Projection Mapping บนพื้นหรือผนังอาคาร ที่เต็มไปด้วยความตื่นตาตื่นใจ และเติมเต็มประสบการณ์ใหม่ ๆ ในรูปแบบของความล้ำสมัยที่พัฒนาต่อยอดจนกลายมาเป็นผลงานใหม่ 2 ชิ้น ขึ้นมา คือ Vortex และ Kinetic Waves
มร.มิเกล เชอวาลิเยร์ ศิลปินดิจิทัลอาร์ตชาวฝรั่งเศส ได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงาน ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกงานดิจิทัลอาร์ต ในกิจกรรม “Digital Art Talk With Miguel Chevalier” ร่วมกับบริษัท สยามพิวรรธน์ ครั้งนี้ ว่าผลงานดิจิทัลอาร์ตทั้ง Vortex และ Kinetic Waves ไม่เพียงแต่มาพร้อมกับภาพเสมือน (Virtual Paintings) ที่มีรูปทรง เส้นสาย และสีสันสดใสเท่านั้น
หากแต่ยังเชื้อเชิญให้ผู้ชมมีส่วนร่วมไปกับการสร้างสรรรค์และดัดแปลงผลงานขึ้นใหม่ เพื่อก่อให้เกิดสุดยอดประสบการณ์การชม Art Tech แบบอินเตอร์แอคทีฟชนิดเรียลไทม์ โดยทั้ง 2 ผลงานนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้สัมผัสเป็นระยะเวลา 1 ปี เต็ม
อย่างไรก็ดี ผลงาน Vortex จะเป็นงานศิลปะที่นำเสนอบนหน้าจอ LED ทรงกลมวงแหวนขนาดใหญ่ สร้างสรรค์ในรูปแบบ Generative Art ซึ่งใช้พลังของคอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานในลักษณะของเส้นแสงที่มีความลื่นไหล และหมุนวนไหลเวียนอย่างต่อเนื่องตลอดวงแหวนอย่างไม่สิ้นสุด
ภาพที่ออกมาจึงไม่ซ้ำกัน มีความสว่างไสว มีชีวิตชีวา เป็นการสื่อถึงความงดงามและความซับซ้อนของกระแสที่มองไม่เห็น เป็นเหมือนตัวกำหนดทิศทางโลก ขณะเดียวกันก็ย้ำเตือนให้ตระหนักถึงที่เส้นทางของคนเราท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอันไม่มีวันสิ้นสุด
ขณะที่ผลงานชุด Kinetic Waves เป็นงานศิลปะในรูปแบบ Interactive Virtual Reality เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีความลื่นไหลจากการสร้างภาพเสมือนจากรูปทรงเรขาคณิต (Virtual Geometric Grids) มีแตกต่างกันถึง 32 แบบ จัดเรียงและให้สีโทนสว่างที่ตัดกัน พร้อมเอฟเฟกต์ที่ทำให้รู้สึกถึงความลึกและความนูน ก่อให้เกิดภาพลวงตาขึ้น
เมื่อผสานกับการนำเสนอแบบ Interactive ภาพความเคลื่อนไหวก็ชวนให้ตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ความพิเศษยิ่งไปกว่านั้น คือ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับการเข้าชมอาร์ตเทค กล่าวคือ ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์และดัดแปลงผลงานผ่านการเคลื่อนไหวของผู้ชมทั่วบริเวณ ตั้งแต่บันไดทางเดินไปจนถึงหน้าจอชั้น 5
ทำให้ผู้ชมได้มีโอกาสร่วม Co-create งานดิจิทัลอาร์ตไปกับผลงานของศิลปินระดับโลก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นมิติภาพที่แตกต่างกันตลอดเวลา เหมือนความงามที่เกิดขึ้นจากวิธีที่แตกต่างจากภาพวาด ภาพถ่าย หรือวิดีโอ
เพราะศิลปะแต่ละแขนงมีความงามในรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกันไป สิ่งที่ทำ คือการดึงความสวยงามจากความเป็นดิจิทัลออกมา และออกแบบให้เข้าถึงผู้คนได้ชมในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ชมมีส่วนร่วมไปกับงานศิลปะมากกว่าการมองดูเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ มร.มิเกล กล่าวต่อว่า ศิลปินอาจทำงานด้วยตัวเองเพียงคนเดียว แต่การสร้างงานรูปแบบอาร์ตเทค คือการผสมผสานระหว่างศิลปะและเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้าด้วยกัน การทำงานจึงต้องเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ และช่างเทคนิคผู้นำเสนอผลงานขึ้นจอในพื้นที่จัดแสดง
” ที่ผ่านมาการทำงานของผมคือ สร้างสรรค์ไอเดียและวางคอนเซ็ปต์ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญเขียนอัลกอริธึมออกมาให้ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่วางไว้นับเป็นความท้าทายของศิลปินในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งงานของผมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและเครื่องมือ ผมจึงต้องหาทางพัฒนางานใหม่ ๆ โดยการตามเทคโนโลยี เครื่องมือใหม่ ๆ ให้ทันและใช้ให้เป็น ”
สำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นดิจิทัล อาร์ตทิสต์ สิ่งแรกที่ต้องมีคือ พัฒนารูปแบบของตนเอง และสร้างเอกลักษณ์ขึ้นมา จำเป็นต้องอัพเดตตัวเองอยู่เสมอ ต้องเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น และความอดทน เพราะการสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับและความเข้าใจ ศิลปินต้องเปิดกว้างต่อโลก มีความสนใจใคร่รู้ในทุกสิ่ง ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ และผลงานที่ศิลปินคนอื่นสร้างขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม เพลง หรือแม้แต่การเต้นรำ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจเทรนด์ของยุคนั้น แม้จะผู้ที่คร่ำหวอดและเป็นมืออาชีพทางด้านนี้ แต่ศิลปินดิจิทัลอาร์ตระดับโลกอย่างผม ก็ไม่เคยหยุดพัฒนาและหยุดผลักดันตัวเอง ยังคงค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ และเรียนรู้อยู่เสมอ
มาร่วมสัมผัสผลงานอินเตอร์แอคทีฟเหนือระดับสร้างสรรค์โดยศิลปินดิจิทัลอาร์ตชื่อดัง “มิเกล เชอวาลิเยร์” บนพื้นที่ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอนติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Facebook SIAMPARAGON และ SCBXNextTech
#SmarterBetterRicher #SCBXNextTech #FutureScape
#SiamParagonSCBXNextTech