หัวเว่ยก้าวสู่ยุค 5.5G ในงาน Asia Pacific ICT Summit 2024 ปูทางสู่ดิจิทัล ประเทศไทย

   เมื่อ : 14 ส.ค. 2567

งาน Asia-Pacific ICT Summit 2024 ซึ่งร่วมจัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หัวเว่ย และพันธมิตรอุตสาหกรรม GSMA หัวเว่ย ประกาศความพร้อมที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่ยุค 5.5G โดยอาศัยความสำเร็จของ 5G เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทยด้วยเครือข่ายอัจฉริยะรุ่นถัดไปที่มีความเร็วสูงสุด 

ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ได้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วในการนำ เทคโนโลยี 5G มาใช้ เพื่อผลักดันพัฒนาการทางดิจิทัลในอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญและเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยวิวัฒนาการและการมาถึงของ 5.5G ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างยิ่ง 

มาตรฐานการใช้งานในระดับสากลของ 5.5G ซึ่งจัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นก้าวสำคัญในการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเทคโนโลยีนี้ ได้ปรับปรุงและยกระดับการใช้งานของเทคโนโลยี 5G ดังนี้:


• อัลตราบรอดแบนด์ (Ultra-Broadband): 5.5G ให้ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงถึง 10 Gbit/s ซึ่งเร็วกว่าการใช้งาน 5G ถึงสิบเท่า และความเร็วในการอัพโหลดอย่างน้อย 500 Mbit/s เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ไร้รอยต่อและรวดเร็วสูงสุด 


• การรับประกัน SLA แบบกำหนดเอง (Deterministic SLA): ด้วยค่าความหน่วงที่ต่ำลง 1 มิลลิวินาที 5.5G รับประกันคุณภาพบริการซึ่งจำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันและบริการที่ต้องทำงานแบบเรียลไทม์ 


• AI และเครือข่ายอัตโนมัติ (AI and Autonomous Networks): การรวม AI เข้ากับการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายและเครื่องมือการตลาดที่แม่นยำ ทำให้ผู้ให้บริการสามารถจัดการเครือข่ายขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการกล่าวปาฐกถาที่งาน Asia-Pacific ICT Summit 2024 นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการ ฝ่ายขายกลุ่มธุรกิจเครือข่ายโทรคมนาคม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความก้าวหน้าทางด้านเทคนิคเหล่านี้

 

 ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับบริการใหม่ ๆ เช่น การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จำนวนมากซึ่งมีความหนาแน่นต่อพื้นที่มากขึ้นกว่า 1 ล้านชิ้นต่อตารางกิโลเมตรผ่านเครือข่าย 5G และมีระยะการสื่อสารที่ไกลขึ้น (Massive IoT) ประสบการณ์ที่ผสานโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนเข้าด้วยกัน ผ่านเทคโนโลยี 3D/MR/XR

 

เทคโนโลยีการสื่อสารจากยานพาหนะสู่ทุกสิ่ง V2X (Vehicle-to-Everything) และแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ คาดว่าจะสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และขยายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 

เมื่อเข้าสู่ยุค 5.5G หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นมากขึ้นกว่าเดิมในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทย 5.5G ไม่เพียงแค่เป็นเรื่องของการเชื่อมต่อเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการสร้างโลกที่ชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้โดยไม่มีขีดจำกัด เราพร้อมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ 

โดยรับรองว่าโซลูชัน 5.5G ของเราจะเป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก ผ่านการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมและการศึกษาในหลายภาคส่วน เช่น โทรคมนาคม การเงิน และการศึกษา เรามุ่งมั่นที่จะสร้างระบบนิเวศ 5.5G ที่แข็งแกร่งในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสใหม่ ๆ และเร่งการเดินทางของประเทศในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

งาน Asia-Pacific ICT Summit 2024 ถือเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยให้มุมมองที่ครอบคลุมถึงการเดินทางของเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต เมื่อภูมิภาคนี้ยังคงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล งานนี้จึงเป็นเวทีสำคัญสำหรับการทำงานร่วมกัน นวัตกรรม และการสำรวจขอบเขตใหม่ ๆ ในโลกอัจฉริยะ 

 

หัวเว่ย ยืนหยัดในความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการและพันธมิตรทางอุตสาหกรรมเพื่อให้บริการเทคโนโลยีและโซลูชัน ICT อันทันสมัย นำโดย 5.5G คลาวด์ และ AI หัวเว่ยตั้งเป้าที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่แนวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนสำหรับประเทศ 

นอกจากนี้ คำกล่าวปาฐกถาจากผู้นำอุตสาหกรรม รวมถึงตัวแทนจาก GSMA และ ITU ได้เน้นย้ำถึงการเคลื่อนไหวระดับโลกของเทคโนโลยี 5.5G โดยเฉพาะในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น จีนและตะวันออกกลาง งานนี้ได้เน้นย้ำถึงศักยภาพของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการเริ่มต้นแผนการพัฒนา 5.5G ภายในปี 2567 

หนึ่งในไฮไลท์ที่โดดเด่น คือ การนำเสนอจาก Midea Thailand ที่จัดแสดงโรงงานอัจฉริยะที่ล้ำสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โรงงานนี้แสดงให้เห็นว่า 5G ได้ปฏิวัติการดำเนินงานอย่างไร รวมถึงระบบโลจิสติกส์อัตโนมัติ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า และศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ 

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการเทเลคอมรายใหญ่ของไทยอย่าง AIS และ TRUE ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีที่ 5G ได้ช่วยให้บริการใหม่ ๆ แก่ลูกค้าและเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งสองบริษัทแสดงความตื่นเต้นสำหรับยุค 5.5G โดยคาดหวังว่าจะมีบริการที่ล้ำสมัยยิ่งขึ้นสำหรับคนไทย 

ควบคู่กับการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวความร่วมมือที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี 5.5G และการเพิ่มทักษะบุคลากรร่วมกัน ความร่วมมือนี้มีเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านการพัฒนา 5.5G ผ่านการส่งเสริมการวิจัยร่วมกัน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ และการบูรณาการระหว่างภาคอุตสาหกรรมและการศึกษา 

ณ โซนแสดงนิทรรศการ หัวเว่ยได้นำเสนอรูปแบบอัจฉริยะต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงอนาคตของชีวิตดิจิทัล การทำงาน และอุตสาหกรรม: 


• Digital Life: บ้านอัจฉริยะ (smart homes) แท็กซี่ไร้คนขับ (autonomous taxis) การไลฟ์สตรีมมิ่ง 5.5G (5.5G live streaming) เทคโนโลยีสร้างโลกเสมือนจริง (mixed reality) และการสื่อสารของยุคหน้า (next-gen communication)


• Smart Campus: Wi-Fi 7 รุ่นใหม่ล่าสุด FTTO การประชุมอัจฉริยะ (Intelligent meetings) และการ ใช้ AI ช่วยช้อปปิ้งและรับประทานอาหารในร้าน


• Industry Transformation: นวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ การดูแลสุขภาพ รัฐบาล และการเงิน 


• Interactive Points: เกมเสมือนจริง (Huawei Cloud Yunbao Virtual Game Machine) มนุษย์เสมือนจริง (Virtual Human) การถ่ายภาพด้วย AI และหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ Kuavo ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ HarmonyOS


• Ecosystem Partners: นวัตกรรมร่วมจากหัวเว่ยและพันธมิตรกว่า 30 ราย 

ความเป็นผู้นำของหัวเว่ยในการพัฒนาเทคโนโลยี 5.5G ที่งาน Asia-Pacific ICT Summit 2024 ถือเป็นก้าวสำคัญสู่อนาคตดิจิทัลของประเทศไทย โดยการขับเคลื่อนนวัตกรรม สร้างความร่วมมือ และเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยี หัวเว่ยไม่เพียงสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังวางตำแหน่งให้ประเทศไทยเป็นผู้เล่นสำคัญในเศรษฐกิจดิจิทัลระดับโลก 

เมื่อยุค 5.5G กำลังเริ่มต้น หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมเพื่อเปิดโอกาสใหม่ ๆ และสร้างโลกที่ชาญฉลาดและเชื่อมโยงกันมากขึ้นสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก